บทที่ 5 : กระบวนการวางแผนการรบร่วม

Authors

  • พ.อ.ภรัถ เทียนทองดี

Keywords:

การวางแผน, กระบวนการ, การรบร่วม, หนทางปฏิบัติ, JOPP

Abstract

     เราพัฒนาแผนต่างๆ สำหรับการทัพ (Campaign) โดยใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ผสมกับศิลปะของการออกแบบทำให้เราเกิดความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของการทัพ, มองเห็นปัญหาที่แผนการทัพต้องจัดการแก้ไขและพัฒนา “สมมุติฐานที่ไม่หยุดนิ่ง” (running hypothesis) สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาทางยุทธการ (operation approach) ผู้บังคับบัญชาทั้งหลายต้องสามารถส่งผ่านวิสัยทัศน์ รวมถึงความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ปัญหาทางยุทธการ ไปสู่ฝ่ายเสนาธิการของตน หน่วยรอง หน่วยที่เข้าร่วมปฏิบัติการบริษัทตัวแทน และนานาประเทศ/หน่วยงานที่มิใช่ส่วนของรัฐบาล เพื่อแปลงวิสัยทัศน์ของหน่วยงานต่างๆ เหล่านั้นไปสู่แผนการปฏิบัติที่สามารถทำได้จริงในส่วนของที่ศาสตร์ (science) ในการวางแผน จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การแปลงวิสัยทัศน์โดยการประยุกต์ความเข้มงวดในการร่วมมือและการประสานสอดคล้องของแง่มุมต่างๆ ทุกแง่มุมของแนวคิด (concept) เพื่อผลิตแผนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ในขณะที่เรามีระบบเอกสารที่มีประสิทธิภาพ และระเบียบปฏิบัติ (practiced) ในการขับเคลื่อนส่วนที่เป็นศาสตร์ในการวางแผน แต่เรายังขาดแนวทางที่เป็นเอกสารตำราที่จะใช้ในการขับเคลื่อนในส่วนที่เป็นศิลปะในการวางแผน ผู้บังคับบัญชาต้องใช้แนวทางแก้ปัญหา แต่ผู้วางแผน/ฝ่ายเสนาธิการก็จะต้องสามารถใช้วิธีวิทยาในการออกแบบ (design methodology) เพื่อเป็นส่วนเติมเต็มในกระบวนการที่เป็นโครงร่าง (structured) ของกระบวนการวางแผนการรบร่วม (Joint Operation Planning Process: JOPP)

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-09-09

How to Cite

เทียนทองดี พ. (2021). บทที่ 5 : กระบวนการวางแผนการรบร่วม. หนังสือเผยแพร่ความรู้, 140–248. Retrieved from http://www.learnings.in.th/scitech/index.php/rta/article/view/61